วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553 100 คะแนน ปิดรับงาน 28 พ.ย.2553











กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553 ข้อ 1 - 10

ส่งงาน










ตอบ 3 การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" การ ที่สิ่งมีชีวิตต้องมีการหายใจ คือการที่ร่างกายต้องรับก๊าซออกซิเจน จากอากาศไปส่งให้เซลล์ต่างๆของร่างกาย ทางกระแสโลหิต และยังขับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เซลล์ขับออกมาทางกระแสโลหิต ออกจากร่างกายด้วย การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ เกิดขึ้นที่ถุงลมปอด เรียกว่า การฟอกโลหิต ดังนั้นในการรับเอาก๊าซออกซิเจน และขับการขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย








ตอบ 2
สารซีเอฟซี มีชื่อเต็มว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอน เปงสารประกอบที่อยู่ในสถานะก๊าซ ประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ฟลูออรีน และคลอรีนนำมาใช้ในประโยชน์อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น ผลิตพลาสติกโฟม ใช้เปงตัวทามความเย็นในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศใช้ทามความสะอาดแผงวงจรอิเล็กทรอนิค เปงส่วนประกอบอยู่ในกระป๋องสเปย์ต่างๆโทษของมันคือทำลายก๊าซโฮโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ ก็คือว่า สารซีเอฟซีลอบขึ้นสู่บรรยากาศ ไปกระทบกับรังสีอัลตร้าไวโอเลตจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำลายก๊าซโฮโซนให้มีปริมาณลดน้อยลง มีผลทำให้โลกได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตมากขึ้นรังสีอัลตร้าไวโอเลต มีคุณสมบัติคือ ทำให้เราเปงมะเร็งผิวหนัง ทามให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตายได้ ซึ่งเปงอันตรายเปงอย่างมาก








ตอบ 4 ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียง ประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 [1] ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ [2] วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA







ตอบ 1
นิวเคลียส (Nucleus)
นิวคลีโอลัสในนิวเคลียส (Nucleolus in nucleus)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (Rough endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (Smooth endoplasmic reticulum)
ไรโบโซม (Ribosomes)
ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
กอลจิแอปพาราตัส หรือ ดิกไทโอโซม (dictiosomes)
ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
เวสิเคิล (Vesicle)
คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และ พลาสติด (plastid)
แวคิวโอล (Central vacuole)
เซลล์พืช
ออร์แกเนลล์ (Organelles)
นิวเคลียส (Nucleus)
นิวคลีโอลัส (Nucleolus in nucleus)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (Rough endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (Smooth endoplasmic reticulum)
ไรโบโซม (Ribosome)
ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
กอลจิแอปพาราตัส (Golgi apparatus)
ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
เวสิเคิล (Vesicle)
แวคิวโอล (Vacuole)
ไลโซโซม (Lysosome)
เซนทริโอล (Centriole)
นิวเคลียส (Nucleus)
นิวคลีโอลัสในนิวเคลียส (Nucleolus in nucleus)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (Rough endoplasmic reticulum)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (Smooth endoplasmic reticulum)
ไรโบโซม (Ribosomes)
ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
กอลจิแอปพาราตัส หรือ ดิกไทโอโซม (dictiosomes)
ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
เวสิเคิล (Vesicle)
คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และ พลาสติด (plastid)
แวคิวโอล (Central vacuole)
โทโนพลาสต์ (Tonoplast-central vacuole membrane)
เปอรอกซิโซม (Peroxisome)
ไกลออกซิโซม (Glyoxysome)
ซิเลีย (Cilium)
แฟลเจลลัม (Flagellum)
พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
ผนังเซลล์ (Cell wall)
พลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)
แฟลเจลลัมในเซลล์สืบพันธุ์ (Flagellum in gametes)











ตอบ 1 การคายน้ำของพืช
พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ(transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำ
ปากใบและการคายน้ำของพืชใน บางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล (lenticle) ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย
ปาก ใบเปิดเมื่อเซลล์คุมเต่งและปิดเมื่อเซลล์คุมสูญเสียความเต่ง เซลล์คุมเต่งจะสูญเสียความเต่งได้โดยที่ ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์กำหนดความเต่งของเซลล์คุม เมื่อมีแสงปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์เต่งมากขึ้นและเปลี่ยนรูปไปทำให้ปากใบเปิด ในทางตรงกันข้ามการลดปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมลดลง น้ำจะแพร่ออกจากเซลล์คุมทำให้เซลล์คุมเปลี่ยนรูปไปเป็นผลให้ปากใบปิด
ที่มา
http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_07.html









ตอบ 3










ตอบ 1 การตรวจปัสสาวะ ไตทำหน้าที่ขับของเสีย ออกจากเลือดดังนั้นการตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต และการทำงานของระบบอื่น วิธีการตรวจปัสสาวะกระทำได้โดยแพทย์จะให้เก็บปัสสาวะในภาชนะ หลังจากนั้นจะนำแทบเคมีจุ่มลงในปัสสาวะเพื่อดูปฏกิริยา ปัสสาวะบางส่วนอาจจะส่งไปตรวจเพิ่มเช่นการเพาะเชื้อ สำหรับการตรวจปัสสาวะทั่วๆไปจะตรวจดังนี้ •pH ดูความเป็นกรด ด่าง pH ปกติเท่ากับ 7 ปัสสาวะเป็นกรดพบในภาวะ อดอาหาร รับประทานโปรตีนมากไป การติดเชื้อ ยาบางชนิด ปัสสาวะเป็นด่างพบในภาวะกินเจ ยาบางชนิด •Protein การพบไข่ขาวในปัสสาวะแสดงถึงไตทำหน้าที่ไม่ปกติ สามารถพบได้ในภาวะ โรคเบาหวานที่เริ่มมีโรคแทรกซ้อน การออกกำลังกาย •Sugar (glucose) การเจอน้ำตาลในปัสสาวะแสดงว่าเป็นเบาหวาน •Blood การเจอเลือดแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะเช่น นิ่ว เนื้องอก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ •Ketones การพบสารนี้หมายถึงภาวะอดอาหาร เบาหวาน พิษจากสุรา •Bilirubin เจอสารนี้ในปัสสาวะหมายถึงมีปัญหาที่ตับ •Urobilinogen พบได้ในภาวะโรคตับ โรคที่เม็ดเลือดแดงแตก Alb (Albumin) หรือ Protein คือโปรตีนไข่ขาว ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุดออกมา แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิด Nephrotic Syndrome หรือ ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการบวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)
Sugar หรือ Glucose คนปกติ ไม่ควรมีน้ำตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่าคนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม. แล้วเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือด(FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลำดับ)







ตอบ 4
การรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในปลาทะเล ปลาทะเลมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายน้อยกว่าในน้ำ ดังนั้นน้ำจะออสโมซิสออกจากร่างกาย ในขณะที่เกลือแพร่เข้าสู่ร่างกาย ปลาทะเลจึงต้องดื่มน้ำเข้าไปชดเชยกับน้ำที่สูญเสียไป เพื่อทำให้ปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายเกิดความสมดุล แต่การดื่มน้ำทะเลทำให้ปลาได้รับเกลือมากเกินไป จึงพยายามกำจัดออกจากร่างกายให้มากที่สุดโดยขับเกลือออกมาทางอุจจาระและ ปัสสาวะ เกลือแร่พวก Mg++, Ca++ และ SO= จะขับออกทางอุจจาระ นอกจากนี้ยังขับเกลือพวก Cl- ทางเหงือกด้วย รวมทั้งแอมโมเนียและยูเรีย ไตของปลาทะเลมีขนาดเล็ก เนื่องจากมีน้ำในร่างกายน้อย และต้องการน้ำมากจึงถ่ายปัสสาวะน้อย ไตไม่ค่อยได้ทำงานจึงมีขนาดเล็ก ในปลาฉลามมีต่อมเรคทอล (rectal gland)ทำหน้าที่ขับเกลือด้วย ในปลาสองน้ำ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย จะมีปัญหาเรื่องการสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่เกิดขึ้น เช่น ปลาไหลสกุล Anguilla เมื่อเข้ามาอาศัยในน้ำจืดจะสูญเสียเกลือและมีน้ำในตัวมาก ในทางตรงกันข้ามปลาแซลมอนเมื่ออพยพไปอยู่ในทะเลจะสูญเสียน้ำและมีเกลือใน ร่างกายมากเกินไป ดังนั้นในช่วงนี้จะมีการปรับตัวโดยโกลเมอรูลัส นอกจากนี้ในปลาแซลมอนจะต้องมีการสร้างเซลล์ขับเกลือคลอไรด์ที่เหงือกให้ เจริญดีก่อนลงสู่ทะเลเพื่อขับเกลือออกทางเหงือกได้ดี






ตอบ 3 แวคิวโอล (vacuole) คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์ (tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล(contractile vacuole) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม
การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณ ที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเช่นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงน้ำตาลกลูโคส, คาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต การแพร่แบบนี้ใช้การเคลื่อนที่แบบบราวนิงในการแพร่การแพร่แบบฟาซิลิเทตไม่ต้องการพลังงานในการแพร่ตรงกันข้ามกับการลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ตที่ต้องใช้พลังงาน
สายใยอาหาร ( food web) ในกลุ่มสิ่ิงมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระ แต่ละห่วงโซ่อาหารอาจมีความสัมพันธ์ กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร อาจเป็นอาหาร ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้ เราเรียกลักษณะห่วงโซ่อาหารหลายๆ ห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า สายใยอาหาร (food web) สายใยอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตใดที่มีความซับซ้อนมาก แสดงว่าผูู้ั้้้้้้้้้บริโภคลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทางมีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย

ข้อตกลง

ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ